วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

หอยแครงบ่อดิน

 

https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/4393534460684113

หอยแครงบ่อดิน ต้นแบบอนุรักษ์และผลิตหอยแครงคลองโคนระดับพรีเมียม
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
หอยแครงคลองโคน จ.สมุทรสงคราม จัดเป็นเมนูเด็ดขวัญใจนักเปิบมานาน แต่น้อยคนจะทราบว่า หอยส่วนใหญ่ที่บริโภคกันทุกวันนี้ ไม่ใช่หอยพื้นเมืองที่เสน่ห์อยู่ที่เนื้อแน่น ๆ เคี้ยวแล้วสู้ลิ้น มีรสชาติหวานอร่อย แต่เป็นหอยที่ซื้อลูกพันธุ์จากประเทศเพื่อนบ้านเช่นมาเลเซีย อินเดีย หรือบังกลาเทศ มาเลี้ยงเป็นหอยลิ้นสั้น เนื้อนิ่ม ต่างจากหอยพื้นถิ่นที่หารับประทานได้ยาก
👤 คุณวรเดช เขียวเจริญ แห่งวรเดชฟาร์ม (โทร. 06-1619-4269) เกษตรกรผู้ทดลองเลี้ยงหอยแครงแบบบ่อปิดกึ่งธรรมชาติ ให้ข้อมูลว่า ด้วยปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและผู้เลี้ยง ทำให้หอยแคลงคลองโคนที่เป็นหอยพื้นบ้านเจริญเติบโตไม่ทัน ประกอบกับในประเทศไทยไม่มีการเพาะเลี้ยงลูกพันธุ์หอยทำให้เกษตรกรนิยมสั่งซื้อลูกหอยจากต่างประเทศที่มีราคาถูกเข้ามาเลี้ยง
“หอยแครงคลองโคนพันธุ์พื้นบ้านเป็นหอยลิ้นยาวหากินค่อนข้างเก่ง ต่างกับหอยต่างประเทศ แต่ด้วยความเป็นหอยที่ซุกซน การเลี้ยงการดูแลจึงทำได้ยากเช่นเวลาน้ำลง หอยจะเดินตามทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงตามชายฝั่งต้องคอยกวาดโคลนให้หอยกลับขึ้นมาแทบจะทุก 3 วัน แต่พันธุ์หอยจากต่างประเทศปล่อยตรงไหนก็จะอยู่ตรงนั้น ตรงนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรหันมาสั่งลูกหอยนอกเข้ามาเลี้ยง และทำให้หอยแแครงคลองโคนพันธุ์พื้นบ้านหากินได้ยากขึ้น”
เพื่ออนุรักษ์หอยแครงพื้นถิ่น คุณวรเดชจึงร่วมเป็นแกนนำนักวิจัยชุมชนในเรื่องการอนุรักษ์หอยแครงคลองโคน ซึ่งได้ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เป็นผู้ช่วยประสานงานในเรื่องนี้จึงเริ่มต้นความพยายามในการทดลองเลี้ยงหอยแครงในบ่อดินขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี พ.ศ. 2558 ด้วยความตั้งใจอนุรักษ์หอยพื้นบ้านไปพร้อมกับการผลิตหอยแครงพรีเมียม
คุณวรเดชได้เปลี่ยนบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำเดิม รวม ๆ แล้วกว่า 150 ไร่ มาเลี้ยงหอยแครงทั้งหมด ใช้วิธีรวบรวมลูกหอยแครงพื้นเมืองจากธรรมชาติ โดยจะซื้อจากเกษตรกรที่เลี้ยงได้ 4-5 เดือนเพื่อนำมาเลี้ยงต่อในบ่อดิน ปริมาณ 300-400 ตัว/ไร่ ซึ่งจะเลี้ยงต่อไปอีกราว 5 เดือนก็สามารถจับจำหน่ายได้ แต่หากเลี้ยงตามชายฝั่งเหมือนการเลี้ยงทั่วไปจะต้องใช้เวลานานถึง 1 ปีเต็ม
อย่างไรก็ตาม ผลจากการทดลองเลี้ยงพบว่า อาหารธรรมชาติไม่พอ เพราะหอยแครงเป็นสัตว์ที่กินอาหารอยู่ตลอดเวลา ทำให้อาหารหลักคือแพลงก์ตอนหรือสาหร่ายที่เกิดขึ้นในบ่อไม่เพียงพอ และยังเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียในน้ำ ทำให้ต้องปรับรูปแบบการเลี้ยงมาเป็น
✅ การเพาะแพลงก์ตอนเพิ่มอาหาร
✅ เปิดรับน้ำธรรมชาติ
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
📌 รายละเอียดเพิ่มเติมที่ภาพประกอบ
➖➖➖➖➖➖➖➖➖➖
https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/4393534460684113

คุณวรเดชบอกว่า คนทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าหอยแครงกินดินเลน แต่จริง ๆ แล้วแพลงก์ตอนนี่แหละคืออาหารหลักและในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม แพลงก์ตอนพืชที่พบในธรรมชาติง่ายที่สุดก็คือครอเรลลา จึงมีการทำโรงเพาะขึ้นบริเวณใกล้บ่อเพื่อให้หอยแครงมีอาหารกินอย่างเต็มที่ตลอดเวลา

แต่ปัญหาที่พบคือมื่อเพาะเลี้ยงครอเรลลาได้แล้วจะทำอย่างไรให้กระจายไปทั่วบ่ออย่างทั่วถึง ปัจจุบันจึงใช้เครื่องตีน้ำให้แพลงก์ตอนกระจายตัวแบบเดียวกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แต่สิ้นเปลืองค่าน้ำมันค่อนข้างมาก โดยกำลังพิจารณานำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ เพราะจากการทดลองเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นว่าหอยที่เลี้ยงในบ่อดินหากมีระบบน้ำหมุนเวียนดีและมีอาหารกินอย่างพอเพียงจะใช้เวลาเลี้ยงน้อยกว่าการเลี้ยงในธรรมชาติ โดยเก็บเกี่ยวได้รวดเร็วกว่า 1 เดือนเป็นอย่างน้อย 
https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/4393534460684113


ผลจากการทดลองเลี้ยงในปีที่ผ่าน ๆ มา ทำให้คุณวรเดชเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงในบ่อดินจากระบบปิดมาเป็นระบบการเลี้ยงกึ่งธรรมชาติ ลดจำนวนบ่อเลี้ยงลง และใช้บ่อที่อยู่รอบนอกทำเป็นบ่อพักน้ำเมื่อรับน้ำจากธรรมชาติก่อนจะปล่อยหมุนเวียนเข้าสู่บ่อเลี้ยงเช้า-เย็นตามการขึ้นลงของกระแสน้ำ

ผลของการปรับเปลี่ยนทำให้การเลี้ยงหอยแครงบ่อดินได้ผลผลิตเฉลี่ย 1 ตัน/1 ไร่ ปัจจุบันราคาหอยแครงที่หน้าฟาร์มจะอยู่ที่ 130 บาท/กิโลกรัม ในอนาคตฟาร์มแห่งนี้ยังเล็งพัฒนาการเพาะพันธุ์ลูกหอยพื้นเมืองเพื่อเป็นการสานต่ออาชีพการเลี้ยงหอยแครงคลองโคน และให้นักเปิบได้มีหอยพื้นเมืองของดีประจำถิ่น 3 น้ำแห่งนี้บริโภคกันไปยาว ๆ
https://www.facebook.com/agriculturemag/posts/4393534460684113



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น