วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ครบเครื่องเรื่องการเลี้ยงหอยขม

การเลี้ยงหอยขม
ชื่อไทย หอยขม
ชื่อสามัญ POND SNAIL , RIVER SNAIL
ชื่อวิทยาศาสตร์ Filopaludina martensi
ลักษณะทั่วไป
     หอยขมเป็นหอยฝาเดียวอาศัยในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูกเป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ๆมีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่ จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม หอยขมชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้น กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน หอยขมเป็นสัตว์น้ำที่ให้คุณค่าทางอาหาร มีโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 4 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2 เปอร์เซ็นต์ และความชื้น 78 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารแต่ก่อนรับประทานควรทำให้หอยขมสุกเต็มที่ เนื่องจากหอยขมมีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในลำไส้ เมื่อเข้าสู่คนแล้วสามารถเจริญเติบโตในคนได้

การเลี้ยงหอยขม
      วิธีที่หนึ่ง คือการเลี้ยงในกระชัง โดยใช้กระชังไนล่อนชนิดตาถี่ทำเป็นรูปกระชัง ขนาด 3 คูณ 6 เมตร สูง 120 เซนติเมตร นำกระะชังไปผูกในแหล่งน้ำด้วยการให้มุมล่างและมุมบนของกระชังทั้งสี่ด้านยึดติดกับเสา 4 ต้น หรือเพิ่มตรงกลางความยาวของกระชังอีกด้านละต้นรวมเป็น 6 ต้น ขอบบนของกระชังอยู่เหนือระดับน้ำ 20-30 เซนติเมตร อย่าให้ก้นกระชังติดพื้นดิน เพราะจะทำให้ก้นกระชังจมโคลน เมื่อผูกกระชังเรียบร้อยแล้วใส่ทางมะพร้าวสดขนาดยาว 1 เมตร ลงไป 2-3 ทางพยายามอย่าให้ทางมะพร้าวทับกัน และควรผูกไว้เพื่อไม่ให้ทางมะพร้าวทับก้นกระชังอาจทำให้เกิดการฉีดขาดของกระะชังได้ จากนั้นจึงใส่หอยขมขนาดใหญ่ หรือขนาดโตที่ใช้รับประทานโดยทั่วไป ลงไป 2 กิโลกรัมต่อกระชัง โดยคัดเลือกหอยขมที่ยังสด ซึ่งสังเกตได้จากการนำหอยขมไปแช่น้ำทิ้งไว้ ถ้าหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะแสดงว่าหอยขมยังมีชีวิตอยู่ หลังจากใส่หอยขมแล้ว วันที่สองยกทางมะพร้าวขึ้นดูจะพบหอยขมเล็กๆ เกาะอยู่ตามทางมะพร้าว ทางมะพร้าวที่แช่อยู่ในน้ำนานๆจะเน่าเปื่อยผุพัง จึงควรเปลี่ยนทางมะพร้าวใหม่เดือนละ 2 ครั้ง หอยขมที่เลี้ยงในกระชังจะเกาะกินตะไคร่น้ำและซากเน่าเปื่อยอยู่ตามทางมะพร้าว ตลอดจนบริเวณด้านข้างและก้นกระชัง โดยมิต้องให้อาหารเสริมแต่อย่างใด หลังจาก 2 เดือนจึงทยอยคัดเลือกเก็บตัวใหญ่ขึ้นมารับประทานหรือจำหน่ายเพื่อไม่ให้หอยขมอยู่กันหนาแน่นเกินไป จะทำให้หอยขมเจริญเติบโตช้า 

     วิธีที่สอง คือการเลี้ยงในร่องสวน เริ่มแรกปล่อยพันธุ์หอยขมขนาดประมาณ 60 ตัว ต่อกิโลกรัม จำนวน 2 กิโลกรัม โดยการตัดทางมะพร้าวขนาด 1-2 เมตรปักลงไปเป็นจุดๆให้ทั่วร่องสวน เมื่อทางมะพร้าวเน่าเปื่อยหรือมีตะไคร่จับ หอยก็จะเข้ามาเกาะและกินตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารใดๆ ใช้ระยะเวลาเลี้ยงเพียง 6 เดือน จากจำนวนที่ปล่อย 2 กิโลกรัม ระยะเวลาการเลี้ยง 6 เดือน จะได้ผลผลิตหอยรวมทั้งหมดประมาณ 100 กิโลกรัม
การเก็บเกี่ยวผลผลิต

      การเก็บเกี่ยวผลผลิตหอยขมสามารถกระทำได้ง่ายมาก โดยการยกทางมะพร้าวขึ้นมาหรือยกขอบกระชังขึ้นมาก็จะพบหอยขมเกาะอยู่ตามทางมะพร้าวหรือบริเวณด้านข้างกระชัง ซึ่งทำให้สามารถคัดเลือกเก็บหอยขมได้ตามขนาดและจำนวนที่ต้องการ

การเลี้ยงหอยขม
เผยแพร่เมื่อ 7 ม.ค. 2016
…อาหารไทย กำลังเข้าสู่ครัวโลกค่ะ ทุกคนอาจเคยได้ยินคำว่า “ครัวไทยสู่ครัวโลก” เพราะอาหารไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร และหอยขม ก็เป็นวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่สามารถนำไปทำอาหารไทยที่แสนอร่อยได้ แถมการเลี้ยงหอยขมก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรที่จะทำเป็นอาชีพได้ในช่วงน้ำน้อย แต่ในตอนนี้เราไม่ได้มาบอกวิธีการเลี้ยงหอยขมแบบทั่วๆไปเพียงอย่างเดียว เรายังมีนวัตกรรมใหม่ในการเลี้ยงหอยขม ที่เกษตรกรรุ่นใหม่ น้องๆจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศูนย์ศิลปาชีพบางไทร นำทีมโดย อ.ปิยะพัชร์ สถิตปรีชาโรจน์ ได้ทำการทดลองโครงงานการเลี้ยงหอยขมในกระเป๋าแขวน ได้รางวัลการันตีมากมาย แนวคิดง่ายๆ แต่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง ครูสุกรรณ์ยังยกนิ้วให้เลยค่ะ การเลี้ยงหอยขมในกระเป๋าแขวนดีกว่าการเลี้ยงแบบกระชังอย่างไร ต้องดูแบบเต็มๆ ในตอน “เลี้ยงหอยขม อาชีพเสริมเกษตรพอเพียง” ไปชมกันเลย




เลี้ยงหอยขมในวงบ่อ
เผยแพร่เมื่อ 31 ก.ค. 2016
เลี้ยงหอยขมในวงบ่อซีเมนต์ ง่ายๆ ครับ



การเลี้ยงหอยขม
        พอพูดถึงเรื่องหอยขม ตามธรรมชาติที่กำลังหายากเต็มที จะหาลูกโต ๆ ก็มีน้อย จะพบเจอแต่ตัวเล็ก เนื้อน้อย กินไม่อร่อย ไม่สะใจ จะกินแกงหอยทั้งที ต้องหาซื้อหอย ก็ใช่ว่าจะมีขายทั่วไปซะเมื่อไหร่ล่ะ บางวันก็มี บางวันก็หาไม่ได้เลย


      จึงไปหาวิธีการเลี้ยงหอย มาประดับความรู้ไว้บ้างดีกว่า เผื่อได้เป็นไอเดีย ทำฟาร์มหอยขม ทราบข่าวมาว่าต้นทุนการเลี้ยงหอย ต่ำมาก ๆ ที่สำคัญคือ บ่อ หรือสถานที่เลี้ยงนั่นล่ะ อาจจะขุดบ่อดิน หรือเลี้ยงในกระชัง ลอยไว้ตามลำคลอง หรือหนองบึงก็แล้วแต่สะดวก ถ้าเลี้ยงในกระชัง ก็เป็นตาข่ายไนล่อนตาถี่ ๆ (สีฟ้า ๆ ) ทำเป็นรูปกระชังสีเหลี่ยม ขนาด 3 คูณ 6 เมตร กำลังดี ความลึกก็ประมาณ 120 เซนติเมตร ถ้าเป็นบ่อดิน ขนาดอย่างว่าก็น่าจะเหมาะสมแล้วเช่นกัน ไม่ใหญ่หรือเล็กจนเกินไป ทำกระชังน่าจะทำได้ไม่ยาก ทำอย่างไรให้มันลอยน้ำ และไม่รั่วให้หอยเพ่นพ่านไปตามน้ำซะ หรืออย่าให้สัตว์อื่นเข้าไปกินหอยในกระชังได้ก็เพียงพอ

          ถ้าเลี้ยงในกระชัง ควรให้ขอบบนของกระชังอยู่ห่างจากผิวน้ำ ประมาณ 20 - 30 เซ็นติเมตร ดังนั้นก็จะมีพื้นที่ด้านล่างให้หอยอยู่อาศัยได้ลึกพอสมควร ส่วนในบ่อดิน หรือร่องสวน ก็ให้มีน้ำขังไม่น้อยกว่า 30 เซ็นติเมตร ก็โอเคแล้ว เพราะธรรมชาติของหอย จะอาศัยในน้ำตื้นได้ขอให้น้ำลึกอย่างน้อย 10 เซ็นติเมตรก็อยู่ได้แล้ว สังเกตดูในนาข้าว น้ำไม่ได้ลึกมาก แต่หอยอยู่ได้ โตดีพอสมควร

     อัตราการปล่อยหอยในกระชัง หรือในบ่อดิน ให้นำหอยขนาดโตที่เราเก็บรับประทาน (โตเต็มที่) ประมาณ 2 กิโลกรัม ปล่อยลงไปใน 1 บ่อ หรือต่อ 1 กระชัง อาจจะใช้อัตราส่วนนี้ นำไปคำนวณการปล่อยหอยลงไปเลี้ยงในร่องสวนที่มีรูปร่างไม่แน่นอน หรือมีพื้นที่ไม่ชัดเจนก็ได้ ไม่ว่ากัน มากน้อยเพียงใดปรับแก้กันได้ แต่ถ้าเยอะเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตของหอยลดลง ขนาดที่ได้จะไม่ใหญ่มากนัก น้ำหนักน้อย เพราะมีการแย่งอาหารกัน

     สิงสำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้ที่ต้องนำไปใส่ในบ่อ หรือในกระชัง คือ ทางมะพร้าว ยาวประมาณ 1 เมตร ใส่ลงไปในบ่อ 2 - 3 ทางต่อบ่อ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่เกาะ และเป็นที่กินอาหารของหอย เพราะหอยขมนิสัยเป็นนักเกาะตัวยง ชอบเกาะตามสิ่งที่ลอยในน้ำ หรือจมอยู่ในน้ำ เพราะทางมะพร้าวที่ใส่ไปสักระยะหนึ่งจะมีพวกตะไคร่น้ำ หรือตะกอน หรือคราบตะกอนในน้ำ ซึ่งเป็นอินทรีย์สารมาเกาะมากมาย นั่นล่ะครับคืออาหารจานโปรดของหอยขมเลย..บางครั้งแทบไม่ต้องให้อาหารสำเร็จ รูปเลี้ยงหอยก็ได้ ถ้ามีพวกนี้เพียงพอเหมือนในแหล่งน้ำธรรมชาติ อย่าลือนะครับ ทางมะพร้าวที่เราใส่ลงไป ประมาณ 2 เดือนผ่านไปอาจจะเริ่มผุพัง เน่าเปื่อยทำให้น้ำเสียได้ จึงควรเปลี่ยนอันใหม่ลงไปแทน จะให้ผลดีกว่า

      อาหารสำหรับหอยขม ก็เป็นอาหารปลาสูตรสำหรับปลากินพืชทั่วไป นำไปใช้ได้เลย ให้ตามอัตราที่ 2 % ต่อน้ำหนักตัวของหอย ก็ลองเอาหอยแต่ละช่วงอายุที่เราเลี้ยง สุ่มเอามาชั่งน้ำหนักดู เช่น ชั่งได้ 1,000 กรัม (หรือ 1กิโลกรัม) จากนั้นก็เอาจำนวนตัวหอยที่ชั่งเมื่อกี้ มาหารน้ำหนัก ก็จะเป็นน้ำหนักเฉลี่ย หรือน้ำหนักหอย 1 ตัว แล้วค่อยคำนวณหาจำนวนหอยโดยประมาณของหอยทั้งหมดในบ่อ แล้วคูณ ด้วย 2%  ก็จะได้น้ำหนักอาหารที่ควรจะให้กับหอย แต่ที่แน่ ๆ เราไม่รู้หรอกว่า ในบ่อนั้นมีหอยเกิดใหม่ หรืออาศัยอยู่หลังจากเราปล่อยลงไปตอนแรกสักกี่ตัว อันนี้ไม่ต้องห่วงเลย ใช้วิธีกะประมาณเอาครับง่ายที่สุด เพราะนี่เป็นการให้อาหาร ไม่ใช่ให้ยาสัตว์ป่วยครับ อย่าให้น้อยแล้วกัน เดี๋ยวหอยจะไม่อวบ ไม่สมบูรณ์ แต่ถ้าให้เยอะเกิน ระวังน้ำจะเสีย แค่นั้นเอง

      หรือบางคนอาจจะให้อาหารน้อยหน่อยถ้าเลี้ยงตามร่องสวน เพราะหอยจะกินพวกตะไคร่น้ำ หรือสารอินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในน้ำได้อยู่แล้ว ขอให้น้ำสะอาดเป็นอันใช้ได้

     ระยะเวลาการเลี้ยงไม่นานเกินรอครับ ประมาณ 2 เดือน ได้เริ่มจับขายแน่นอน แต่ต้องทยอยจับนะครับ เพราะหอยพวกนี้โตไม่เท่ากัน และมีหลายขนาด พวกมันขยายพันธุ์ได้ดีมาก เพราะในตัวเดียวกันมีสองเพศ พูดง่าย ๆ มันไม่ต้องจับคู่ผัวเมียผสมพันธุ์เหมือนสัตว์อื่นๆ  ผสมในตัวเอง แล้วออกลูกเป็นตัวได้เลย หอย 1 ตัวออกลูกประมาณ 40 - 50 ตัว

การเพาะเลี้ยงหอยขม
หอยขม (Pond snail, Marsh snail, River snail) ชื่อวิทยาศาสตร์ Filopaludina อยู่ในไฟลัม Mollusca กลุ่มหอยฝาเดียว วงศ์ Viviparidae เป็นหอยฝาเดียว มีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม เปลือกหนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโต กว่าเส้นข้างซ้าย ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้คือมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียว กัน และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ๆ มีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่ จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม เนื้อหอยขมนิยมนำมาทำอาหารประเภทแกง หรือที่มีขนาดเล็กมากก็ใช้เป็นอาหารเป็ดและสัตว์อื่นๆ

หอยขมอาศัย ในแหล่งน้ำจืด เช่น คู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง มีระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้นในที่ร่ม กินอาหารพวกสาหร่ายและอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุๆ ในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน

จะ เลี้ยงหอยขมก็เลี้ยงได้หลายแบบเพราะมันเลี้ยงง่าย โตเร็วและแพร่พันธุ์ได้เอง ที่นิยมคือเลี้ยงในกระชัง นิยมใช้กระชังไนลอนชนิดตาถี่ ทำเป็นรูปกระชังขนาด 3x6 เมตร สูง 120 เซนติเมตร นำกระชังไปผูกในแหล่งน้ำด้วยการให้มุมล่างและมุมบนของกระชังทั้งสี่ด้านยึด ติดกับเสา 4 ต้น หรือเพิ่มตรงกลางตามความยาวของกระชังอีกด้านละต้นรวมเป็น 6 ต้น ขอบบนของกระชังอยู่เหนือระดับน้ำ 20-30 เซนติเมตร อย่าให้ก้นกระชังติดพื้นดิน เพราะจะทำให้ก้นกระชังจมโคลน เมื่อผูกกระชังเรียบร้อยแล้วใส่ทางมะพร้าวสดขนาดยาว 1 เมตร ลงไป 2-3 ทาง พยายามอย่าให้ทางมะพร้าวทับกัน และควรผูกไว้เพื่อไม่ให้ทางมะพร้าวทับก้นกระชังอาจฉีกขาดได้

ใส่หอย ขมขนาดใหญ่ หรือขนาดโตที่ใช้รับประทานโดยทั่วไป ลงไป 2 กิโลกรัมต่อกระชัง โดยคัดเลือกหอยขมที่ยังสด สังเกตได้โดยนำหอยขมไปแช่น้ำทิ้งไว้ ถ้าหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะแสดงว่ายังมีชีวิตอยู่ หลังจากใส่หอยขมแล้ว วันที่สองยกทางมะพร้าวขึ้นดูจะพบหอยขมเล็กๆ เกาะอยู่ตามทางมะพร้าว ทางมะพร้าวที่แช่น้ำนานๆ จะเน่าเปื่อยผุพัง จึงควรเปลี่ยนใหม่เดือนละ 2 ครั้ง หอยขมที่เลี้ยงในกระชังจะเกาะกินตะไคร่น้ำและซากเน่าเปื่อยอยู่ตามทาง มะพร้าว ตลอดจนบริเวณด้านข้างและก้นกระชัง โดยไม่ต้องให้อาหารเสริมแต่อย่างใด หลังจาก 2 เดือนจึงทยอยคัดเลือกเก็บตัวใหญ่ขึ้นมารับประทานหรือจำหน่ายเพื่อไม่ให้หอย ขมอยู่กันหนาแน่นเกินไป จะทำให้หอยขมเจริญเติบโตช้า

ยังมีการเลี้ยง หอยขมในร่องสวน เริ่มจากปล่อยพันธุ์หอยขมขนาดประมาณ 60 ตัว ต่อกิโลกรัม จำนวน 2 กิโลกรัม โดยตัดทางมะพร้าวปักลงไปเป็นจุดๆ ให้ทั่วร่องสวน เมื่อทางมะพร้าวเน่าเปื่อยหรือมีตะไคร่จับ หอยจะเข้ามาเกาะและกินตะไคร่น้ำเป็นอาหาร โดยไม่จำเป็นต้องให้อาหารใดๆ ใช้ระยะเวลาเพียง 6 เดือน จากจำนวนที่ปล่อย 2 กิโลกรัม จะได้ผลผลิตหอยรวมประมาณ 100 กิโลกรัม หรือเลี้ยงหอยขมในบ่อดินรวมกับปลาอย่างปลานิล หรือตะเพียนขาว โดยนำหอยขมตัวเต็มวัยใส่ลงในบ่อดิน ทำหลักไม้ไผ่ปักเป็นจุดๆ หรือใช้ทางมะพร้าวใส่ลงไปให้หอยขมเกาะ ให้อาหารปลาตามปกติ เศษอาหารและมูลของปลาก็จะเป็นอาหารหอยขมต่อไป หลังจากนั้นทุกๆ 15 วันเริ่มเก็บหอยตัวใหญ่ออกมา

การเก็บเกี่ยวผลผลิตหอยขมทำได้ง่ายมาก โดยยกทางมะพร้าวขึ้นมา หรือยกขอบกระชังขึ้นมาก็จะพบหอยขมเกาะอยู่ตามทางมะพร้าวหรือบริเวณด้าน ข้างกระชัง ส่วนที่เลี้ยงในท้องร่อง อาจใช้สวิงตาห่างคราดเก็บเอาก็ได้ หรือนำยางนอกของรถมอเตอร์ไซค์ลงแช่ในบ่อเลี้ยง ซึ่งหอยขมจะจับจนเต็มยางรถ ช่วยให้สะดวกในการเก็บและประหยัดเวลา
เพาะเลี้ยงหอยขมแบบภูมิปัญญาชาวบ้านที่สกลนคร

โดย เดลินิวส์ วันที่ 18 มกราคม 2551 

 นายพิษณุ เภาโพธิ์ เกษตรกรตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร เกษตรกร ขยายผลในการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร ได้เข้าร่วมโครงการฯ เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีที่ดิน 13 ไร่

เป็นหนึ่งของเกษตรกรหลายรายที่นำเอาแม่แบบในการทำการเกษตรแบบผสมผสานและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติใช้ในการดำรงชีพ ในพื้นที่จะมีการจัดแบ่งเพื่อการใช้งานอย่างลงตัว มีแปลงพืชยืนต้น มีสวนผัก และมีนาข้าวพร้อมสระน้ำเพื่อการเก็บกักไว้ใช้งาน

ในส่วนของสระน้ำนั้นนอกจากจะมีการนำพันธุ์ปลาหลายชนิดมาเลี้ยงไว้ในที่เดียวกันแล้ว เกษตรกรรายนี้ยังได้นำหอยขมมาปล่อยไว้ด้วย โดยปล่อยให้อยู่ตามธรรมชาติ ขณะเดียวกันก็นำเอาทางมะพร้าวที่ถูกตัดแต่งเพื่อการเจริญเติบโตมาวางจมไว้ในสระ โผล่ส่วนของทางมะพร้าวไว้ริมตลิ่ง เพื่อสะดวกในการเก็บหอยขมขึ้นมาบริโภค

เกษตรกรรายนี้เล่าให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้เวลาต้องการกินหอยขมก็ต้องออกไปยังตลาดเพื่อซื้อมา วันหนึ่งคิดขึ้นมาได้ว่า หอยขมนั้นชอบอยู่ในดินเลนแบบดินทุ่งนาในที่ที่เป็นน้ำนิ่ง ซึ่งสระน้ำในพื้นที่ก็มีคุณลักษณะเดียวกัน จึงไปหาซื้อหอยขมมาจำนวนหนึ่งแล้วปล่อยลงไปในสระน้ำพร้อมนำทางมะพร้าวมาวางเป็นจุด ๆ รอบ ๆ สระเพื่อให้หอยได้เกาะ เมื่อต้องการเก็บขึ้นมาทำกินก็เพียงไปยกเอาทางมะพร้าวขึ้นมาเหนือน้ำก็สามารถเก็บหอยขมตามที่ต้องการได้ ซึ่งการเก็บก็จะเลือกเฉพาะหอยที่มีขนาดโตเท่านั้น ตัวเล็ก ๆ ปล่อยคืนลงไปเพื่อให้เจริญเติบโตขึ้นมา

ปรากฏว่านับตั้งแต่ปล่อยหอยขมลงไปเพียงครั้งเดียวก็สามารถเก็บขึ้นมาได้ตลอดเวลาเนื่องจากหอยมีการขยายพันธุ์เองตามธรรมชาติ ปัจจุบันในหนึ่งอาทิตย์ก็มีรายได้จากการเก็บหอยขมขายได้อีกทางหนึ่งด้วย นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคภายในครัวเรือนที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว

สำหรับหอยขมนั้นเป็นหอยฝาเดียวอาศัยในน้ำจืดมีขนาดเล็ก เปลือกเป็นเกลียวกลมยอดแหลม หนาและแข็ง ผิวชั้นนอกเป็นสีเขียวแก่ ฝาปิดเปลือกเป็นแผ่นกลม ตีนใหญ่ จะงอยปากสั้นทู่ ตามีสีดำอยู่ตรงกลางระหว่างโคนหนวด ตัวผู้มีหนวดเส้นข้างขวาพองโตกว่าเส้นข้างซ้าย ลักษณะพิเศษของหอยชนิดนี้ จะมีอวัยวะเพศทั้งเพศผู้และเพศเมียอยู่ในตัวเดียวกัน ออกลูกเป็นตัว และผสมพันธุ์ได้ด้วยตัวของมันเองเมื่ออายุได้ 60 วัน หอยขมออกลูกเป็นตัวครั้งละประมาณ 40-50 ตัว ลูกหอยขมที่ออกมาใหม่ ๆ มีวุ้นหุ้มอยู่ แม่หอยขมจะใช้หนวดแทงวุ้นจนแตก เพื่อให้ลูกหอยหลุดออกจากวุ้น ลูกหอยขมสามารถเคลื่อนไหวได้ทันทีเมื่อออกจากตัวแม่ จะพบเห็นชุกชุมอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม-พฤษภาคม 

หอยขมชอบอาศัยในแหล่งน้ำจืด เช่นในคู คลอง หนอง บึง ที่น้ำไม่ไหลแรงและเป็นน้ำนิ่ง ที่ระดับความลึกตั้งแต่ 10 เซนติเมตร ถึง 2 เมตร มักเกาะอยู่กับพันธุ์ไม้น้ำ เสาหลัก ตอไม้ หรือตามพื้น กินอาหารพวกสาหร่าย และอินทรีย์สาร ใบไม้ใบหญ้าผุ ๆ ในน้ำ รวมทั้งซากอินทรีย์ที่เน่าเปื่อยและผงตะกอนที่จมอยู่ตามผิวดิน 

หอยขมเป็นสัตว์น้ำที่ให้คุณค่าทางอาหาร มีโปรตีน 12 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรต 4 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2 เปอร์เซ็นต์ และความชื้น 78 เปอร์เซ็นต์ จึงเหมาะสำหรับนำมาประกอบอาหารแต่ก่อนรับประทานควรทำให้หอยขมสุกเต็มที่ เนื่องจากหอยขมมีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ในลำไส้ เมื่อเข้าสู่คนแล้วสามารถเจริญเติบโตในคนได้


การเลี้ยงหอยขม
การเลี้ยงหอยขมที่นิยมในปัจจุบันทำใน 2 แบบ คือ
1. การเลี้ยงในกระชัง
วัสดุ/อุปกรณ์
– ตาข่ายไนลอนตาถี่ ตัดเย็บเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1.5 เมตร หรือปรับขนาดตามความต้องการ ทั้งนี้ต้องตรวจสอบรูแหว่ง หากพบให้เย็บปิดให้หมด
– ไม้ไผ่ยาวตามความลึกบ่อ
– ทางมะพร้าว หรือ กิ่งไม้
– เศษใบไม้หมัก/แห้ง
– ลวด

พ่อแม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์หอยขมที่ใช้เลี้ยงต้องมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไป หรือเพื่อความมั่นใจ ควรเลือกใช้พ่อแม่หอยที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตั้งแต่ 60-100 ตัว/กิโลกรัม ขึ้นไป

การเตรียมกระชัง
– นำไม้ไผ่ตอกลงดินบริเวณริมตลิ่งตามระยะกว้างยาวของผ้าไนลอนที่ตัดเย็บ และให้ได้ระดับความลึกของน้ำ มากกว่า 1.2 เมตร
– นำกระชังไนลอนที่เย็บเป็นสีเหลี่ยมแล้วมาขึงรัดด้วยลวดทั้ง 4 มุม ให้แน่น โดยให้ขอบกระชังด้านบนสูงจากน้ำขึ้นมาประมาณ 20-30 ซม.
– นำทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ใส่ในกระชัง 3-5 อัน
– นำเศษใบไม้แห้ง 2-3 กิโลกรัม ใส่ทิ้งไว้ (หากเป็นเศษใบไม้หมัก ให้ใส่หลังการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว)
– ควรเตรียมบ่อไว้นาน 5-10 ก่อนปล่อยหอย เพื่อให้เกิดตะไคร่น้ำจับที่ทางมะพร้าว

การปล่อยพ่อแม่พันธุ์
นำพ่อแม่หอยขมปล่อยลงในกระชัง อัตราการปล่อยที่ 200-300 ตัว/ตารางเมตร โดยใช่พ่อแม่พันธุ์หนัก 60-100 ตัว/กิโลกรัม ขึ้นไป เช่น พื้นที่กระชังกว้าง 4 เมตร ยาว 2 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ขนาด 100 ตัว/กิโลกรัม (ไม่นำมาคิดจำนวน แต่สำหรับคิดจำนวนกิโลกรัม) ที่อัตรา 300 ตัว/ตารางเมตร รวมเป็นจำนวน 8×200 เท่ากับ 1,600 ตัว หรือเท่ากับ 16 กิโลกรัม

การเลี้ยง และการดูแล
หลังจากการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว ให้นำเศษใบไม้หมัก 5-10 กิโลกรัม ใส่ในกระชัง ซึ่งพ่อแม่หอยขมจะกินอาหารจากตะไคร้น้ำที่จับบนทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ และซากเน่าเปื่อยของใบไม้ด้านล่างกระชัง และจะเริ่มออกลูกจำนวนมาก นอกจากนั้น ภายในบ่อหรือในกระชัง ให้หว่านด้วยปุ๋ยคอกเสริมเล็กน้อยร่วมด้วย

ทั้งนี้ การใส่ใบไม้แห้ง/ใบไม้หมัก และปุ๋ยคอก ให้พิจารณาปริมาณที่ใส่ให้เหมาะสม ไม่ควรใส่มากเกินไป ซึ่งอาจทำให้น้ำเน่าเสียได้ รวมถึงต้องคอยลงน้ำตรวจหารูแหว่งที่อาจเกิดจากด้ายหลุด ปูหนีบ หรือปลากัดแทะ

2. การเลี้ยงในบ่อดิน/บ่อปลา/ร่องสวน
การเลี้ยงในบ่อดินร่วมกับการเลี้ยงปลากินพืช หรือการเลี้ยงในร่องสวน เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยประหยัดต้นทุนการเลี้ยงได้ดี หากเป็นบ่อดิน/ร่องสวนใหม่ มักจะยังไม่มีพ่อแม่พันธุ์หอย ส่วนบ่อ/ร่องสวนที่สูบน้ำจนแห้งแล้ว และไม่มีพ่อแม่พันธุ์ ก็ต้องจำเป็นปล่อยพ่อแม่พันธุ์ใหม่

อัตราการปล่อยพ่อแม่พันธุ์หอยจะใช้อัตราเดียวกันดังที่กล่าวในการเลี้ยงแบบแรก และให้ใส่ทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ในปริมาณตามขนาดของบ่อ ส่วนอาหารจะใช้ในลักษณะเดียวกัน คือ เศษใบไม้ และปุ๋ยหมัก

การเก็บหอยขม
สำหรับการเลี้ยงในกระชัง เมื่อปล่อยหอยขม และเลี้ยงแล้วประมาณ 3 เดือน ให้เริ่มทยอยเก็บพ่อแม่พันธุ์ออกก่อน หลังจากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน ค่อยทยอยคัดเก็บหอยที่ได้ขนาดออก และทยอยเก็บเรื่อยๆในทุก 2-3 เดือน ซึ่งจะเก็บหอยขมได้ตลอดทั้งปี ส่วนการเลี้ยงในบ่อดิน ให้ทยอยเก็บในระยะเดียวกัน และสามารถเก็บครั้งสุดท้ายในช่วงสูบน้ำเพื่อเก็บปลา

หอยขม3

ทั้งนี้ การเลี้ยงในบ่อดินที่เลี้ยงปลาหรือในร่องสวนที่มีการสูบน้ำเพื่อเก็บปลา ควรเก็บพันธุ์หอยไว้สำหรับเลี้ยงในปีต่อไปด้วย

ข้อควรระวังการรับประทานหอยขม
1. หอยขมที่นำมารับประทานควรต้มหรือทำให้สุกเสียก่อน เพราะอาจมีไข่พยาธิติดมาด้วย โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ในตับ และพยาธิใบไม้ในลำไส้
2. หอยขมในแหล่งน้ำใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งน้ำเสียชุมชน ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน เพราะอาจปนเปื้อนโลหะหนักได้


ขอบคุณข้อมูลความรู้จาก
https://xn--72c9acray9etb5a2i5d.blogspot.com/2014/02/blog-post_6071.html
http://www.coastalaqua.com/webboard/index.php?topic=923.0
http://www.fisheries.go.th/if-suratthani/web2/index.php?option=com_content&view=article&id=160:2010-02-19-03-30-02&catid=29:2010-01-28-07-27-06&Itemid=21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น