ถ้าไม่มีน้ำให้ชาวนาทำนา แล้วจะทำอย่างไร ปลูกข้าวรอบเดียว โดยปราศจากการประกันราคาและการรับจำนำ ไม่มีทางที่ชาวนาจะอยู่รอด ต้องแก้ปัญหานี้อย่างไร
อย่าพูดนะว่า ทำไมชาวนาไทยไม่พึ่งตนเอง ทำไมเค้าไม่ช่วยตัวเอง รบกวนไปลองเป็นชาวนาสัก 3 เดือนนะ รับรอง
น้ำเพื่อการเกษตรนั้น หากเรามองย้อนกลับไปในอดีต เรามีน้ำจาก
1 ฝน ซึ่งต้องรอจากธรรมชาติ ถ้าปีไหนฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล ปริมาณเหมาะสม การเกษตรก็จะดี
2 บ่อหรือสระในที่ดินของเกษตรกรเอง อันนี้ก็ต้องรอฝนตกลงมาเพื่อกักเก็บไว้ใช้ในการเกษตร แต่ถ้าเผชิญกับความแล้งหลังจากหน้าฝนหนักๆ น้ำในบ่อหรือสระก็จะแห้งขอด
3 คลองส่งน้ำ ซึ่งก็ต้องรอให้รัฐเปิดน้ำจากเขื่อนหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่เข้าคลอง ดังนั้นน้ำในส่วนนี้จะมีปริมาณเพียงพอหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเหนือเขื่อน ซึ่งก็ต้องรอฝนเช่นกัน และ ก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ
เป็นที่น่าสังเกตว่า เรามีหน่วยงานที่มีหน้าที่ หรือ ภารกิจหลักในการช่วยเกษตรกรมากมาย ทั้งหน่วยงานที่มีอยู่เดิมสังกัดในหลายกระทรวง อาทิ กรมชล กรมพัฒน์ กรมที่ดิน กระทรวงเกษตร ทั้งหน่วยงานเกิดใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ อาทิ อปท.ต่างๆ แต่ทำไมยังเกิดปัญหาซ้ำซากมาหลายร้อยปี เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงลำบาก ยากจน น่าคิด น่าแปลกใจจริงๆ
สมมติว่าไม่มีทางอื่นล่ะ ต้องรอฝนอย่างเดียว เกษตรกรต้องทำอย่างไร ต้องหาวิธีกักเก็บน้ำที่ต่างไปจากเดิมอย่างไร จะมีวิธีใช้น้ำให้น้อยที่สุดแต่ได้ผลผลิตที่เท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ความจริงก็มีกรณีศึกษาที่น่าสนใจอยู่นะคะ แต่ฐายังไม่สามารถสืบเสาะมาบอกเล่าพี่น้องเกษตรกรได้ค่ะ คือ กรณีอิสราเอล ซึ่งสามารถที่จะปลูกพืชผักส่งออกได้ในราคาแพง ของคุณภาพดี ทั้งๆที่พื้นที่เป็นทะเลทราย เอาเป็นว่า ถ้าฐาหามาได้ จะรีบเอามาแชร์โดยด่วนเลยค่ะ อ้อ ได้ข่าวแว่วๆว่า ข้าราชการไทยไปดูงานที่อิสราเอลบ่อยอยู่นะคะ แต่ฐาไม่เคยไป เสียดายจริงๆ
#tha
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น