วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

ปรับเปลี่ยน

 ปรับเปลี่ยน...

ปรับเปลี่ยน...แนวคิด

ปรับเปลี่ยน...ทัศนคติ

ปรับเปลี่ยน...วิธีการ

ปรับเปลี่ยน...การอยู่

ปรับเปลี่ยน...การกิน

ปรับเปลี่ยน...เป้าหมาย

ปรับเปลี่ยน...ความมุ่งหวัง

ปรับเปลี่ยน...ความคิด

ปรับเปลี่ยน...การกระทำ

ปรับเปลี่ยน...

แล้วลองดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เกษตรกรยุคใหม่ ต้อง ปรับเปลี่ยน....

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

ปลานิล: ปลาพระราชทานเพื่อปวงชนชาวไทย

ชื่อเรื่อง : ปลานิล: ปลาพระราชทานเพื่อปวงชนชาวไทย

ปีที่จัดพิมพ์ : 2549

ISBN : 978-974-19-4671-6

ชื่อผู้แต่ง : บังอร ไชยณรงค์

จำนวนหน้า : 134  หน้า

หน่วยงานจัดพิมพ์ : กรมประมง สำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการประมง ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ

คำสำคัญ : ปลานิล;ปลาพระราชทาน;ในหลวง;พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว;สวนจิตรลดา;ชีววิทยา;การสืบพันธุ์;นิสัยการกินอาหาร;อุปนิสัย;การเจริญเติบโต;การเพาะพันธุ์;การเลี้ยง;การพัฒนาสายพันธุ์;ลักษณะประจำพันธุ์;บ่อปลา;การเลี้ยงในกระชัง;การแปลงเพศ;โรค;ผลิตภัณฑ์;พระราชดำรัส


คลิกอ่านหนังสือ

https://ebook.lib.ku.ac.th/item/0/20160213

การติดตั้งหัวสปริงเกอร์แบบใช้สลิงดึง

การติดตั้งหัวสปริงเกอร์แบบใช้สลิงดึง

การผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้งในที่ดอน มีข้อจ้ากัดในเรื่องการให้น้ำซึ่งจะอาศัยเพียงน้ำฝนในฤดูฝน

เท่านั้นเพื่อให้ได้หญ้าแห้งคุณภาพดีทั้งปี ในฤดูแล้งจึงจ้าเป็นต้องมีระบบน้ำที่ดี และคลอบคลุมพื้นที่การผลิต

หญ้าแพงโกล่าแห้ง เพื่อสำรองในฤดูที่อาหารสัตว์ขาดแคลน หรือ ในช่วงที่ประสบภัยพิบัติต่างๆ เช่น 

ภัยแล้งอุทกภัย เพื่อให้การผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้ง เป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เพชรบูรณ์ จึงมีระบบการให้น้ำแบบสปริงเกอร์ขนาดใหญ่ 

คลอบคลุมพื้นที่ขนาด 60 ไร่

ซึ่งในระบบการให้น้ำแบบนี้ ขณะปฏิบัติงานก็จะพบปัญหาที่ทำให้เสียเวลา เสียแรงงาน ในการเดินระบบ 

คือการยึดโยงท่อต่อหัวสปริงเกอร์ ซึ่งพบว่าระบบเดิมคือ ใช้ขาเหล็กค้ำยันกับพื้น ไม่สะดวกทั้งในการ

ติดตั้ง เสียเวลาในการขนย้าย และเก็บ รวมทั้งมีราคาแพงกีดขวางขณะทำการตัดหญ้า






เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเปลี่ยนจากขาเหล็กค้ำยันท่อติดตั้งหัวสปริงเกอร์ มาเป็นแบบสลิงดึงซึ่งจะ

สะดวกในการติดตั้งใช้แรงงานน้อยกว่าในการขนย้าย ราคาถูกกว่าและไม่กีดขวางขณะตัดหญ้าเนื่องจาก

สามารถใช้วิธีการเก็บโดยพันรอบเสาติดตั้งหัวสปริงเกอร์ได้เลย


เครดิต

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

http://km.dld.go.th/th/images/stories/kpi/2558_1/nutrition4/sprinkle%20petchaboon.pdf



วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

การจัดการขณะเลี้ยงปลานิล

 

การจัดการขณะเลี้ยงปลานิล

ลูกปลานิลต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงหรือมีการเสริมอาหารธรรมชาติ 


อย่างน้อยที่สุดควรมีการเติมปุ๋ย และมีการถ่ายน้้าขณะลี้ยงปลา 


ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 5-6 เดือน


ในช่วงเดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 6 ผู้เลี้ยงจะต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณออกซิเจนในน้้า 


อย่างน้อยควรมีการถ่ายน้้า อาทิตย์ละครั้ง 


การให้อาหารปลาในช่วงปลาโต ควรให้อัตรา 3% ของน้้าหนักตัว/วัน 


และควรลดอาหารในกรณีที่อุณหภูมิน้้าต่ำ เช่น ในฤดูหนาว


เครดิต

https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/56254/IDL-56254.pdf

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงปลานิล

 


ขั้นตอนการเตรียมบ่อเลี้ยงปลานิล

 1. สูบน้้าออกจากบ่อเพื่อก้าจัดศัตรูของลูกปลาและตากบ่อ ให้แห้ง 

2. โรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน 

3. เติมปุ๋ยคอกเพื่อสร้างน้้าเขียวและอาหารธรรมชาติ 

4. กางกระชังอนุบาลลูกปลานิลในกรณีที่ไม่สามารถเอา น้้าเก่าออกจากบ่อได้ 


เครดิต

https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/56254/IDL-56254.pdf




วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิล

การคัดเลือกลูกพันธุ์ปลานิลและการปล่อยปลา 

 คุณภาพความแข็งแรงของลูกปลาเป็นปัจจัยที่ ส้าคัญ ดังนั้นควรตรวจดูให้แน่ใจว่าลูกปลาที่ได้มีความ แข็งแรง และไม่ติดเชื้อโรค 

อัตราการปล่อยลูก-ปลาที่ เหมาะสมในบ่อดินคือ 2-3 ตัว/ตารางเมตร 

ก่อนปล่อย ปลาควรแช่ถุงบรรจุปลาทิ้งไว้ประมาณ 10 - 15 นาที เพื่อให้ปลาปรับสภาพกับน้้าในบ่อ แล้วค่อยๆ ปล่อยให้ ปลาว่ายออกไปอย่างช้า ๆ



#เกษตรกรมือใหม่

อ่านเพิ่ม

https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/56254/IDL-56254.pdf



การเตรียมบ่อดิน บ่อเลี้ยงปลานิล



การเตรียมบ่อดิน บ่อเลี้ยงปลานิล ควรมีความลึกอย่างน้อย 1 เมตร 

หากเป็นบ่อเก่าให้สูบน้้าออกจากบ่อ ก้าจัดวัชพืช และโรยปูนขาวให้ ทั่วบ่อ ในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 30 ตารางเมตร (ประมาณ 60 กิโลกรัม/ไร่) เพื่อปรับสภาพบ่อ 

ตากบ่อเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้น จึงปล่อยน้้าเข้าบ่อเพื่อท้าการเลี้ยงปลา เกษตรกร 

ควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่/สัปดาห์ เพื่อเป็นการ สร้างอาหารธรรมชาติ เพื่อช่วยประหยัดต้นทุนค่าอาหารปลา 

หากต้องการเลี้ยงปลาในกระชัง ให้กางกระชังตามขนาดที่ เหมาะสมกับบ่อเลี้ยงปลา 

สำหรับบ่อเลี้ยงปลาที่อยู่ห่างไกลจาก ชุมชนควรสร้างตาข่ายกั้นขอบบ่อเพื่อป้องกันศัตรูของปลา

#เกษตรกรมือใหม่


อ่านเพิ่ม

https://idl-bnc-idrc.dspacedirect.org/bitstream/handle/10625/56254/IDL-56254.pdf

เทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์ให้รากตรง

 #เทคนิคการเพาะเมล็ดพันธุ์ให้รากตรง

1ตอนเรียงให้หันก้นเมล็ดไปทางเดียวกันแช่ตู้เย็น24ซม.
2.นำออกตู้เย็นมาพิงผนังบ้านไว้โดยหันด้านที่เมล็ดงอกหรือด้านที่รากจะโผ่ออกลงอีก24ซม.จะงอกได้ตามรูปครับ


เครดิต กิติศักดิ์ กุมภวงค์





วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564

การเตรียมดินที่ใช้ปลูกผักในกระถาง

การเตรียมดิน ดินที่ใช้ปลูกผักในกระถางต้องเตรียมให้ดี และเหมาะสมกับผักแต่ละชนิด การเตรียมดินสำหรับปลูกผักในกระถางสามารถทำได้เองโดยมีส่วนผสม ดังนี้

- ดินร่วน 1 ส่วน

- ทราย 1 ส่วน

- ปุ๋ยหมัก หรือปุ่ยคอก 1 ส่วน

- ขึ้เก้าแกลบ, ขุยมะพร้าว 1 ส่วน




นำทั้ง 4 ส่วน ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันให้ดี ก่อนนำลงปลูก หากกระถางมีรูใหญ่จะดินรั่วออกได้ ให้นำหินหรือเศษกระเบื้องวางทับก่อน ถ้าส่วนผสมดังกล่าวไม่สามารถหาได้ อาจใช้ปุ๋ยคอกผสมใบพืชผุ ใบไผ่ผุ ผสมกับดินก็ได้ และหากไม่สะดวกที่จะผสมดินใช้เอง สามารถหาซื้อดินผสมเสร็จ ที่มีขายอยู่ทั่วไปมาใช้ก็ได้ แต่ควรดูส่วนผสมของดินให้ดี ถ้าหากมีส่วนผสมของใบก้ามปู หรือเปลือกถั่วจะเหมาะสมกว่าดิน ที่มีส่วนผสมของแกลบ หรือกาบมะพร้าว ดินที่ผสมเสร็จแล้วนำไปบรรจุในกระถางที่เตรียมปลูกผัก การบรรจุไม่ควรให้เต็มกระถาง หรือเสมอขอบ ควรเติมหลังจากปลูกผักไปแล้ว จึงจะเพิ่มดินให้อยู่ในระดับที่ต้องการ




เครดิต https://bit.ly/3Gudgqd